ภาษาถิ่นภาษาไทยสู่หลักชัยการอ่านเขียนคล่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนป่าสักวิทยา

วันที่โพสต์: Jul 04, 2016 1:22:24 PM

ผลงาน/นวัตกรรมที่เป็นเลิศ  (Best Practice)ชื่อผลงาน  ภาษาถิ่นภาษาไทยสู่หลักชัยการอ่าน- เขียนคล่อง  (คำภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษาไทยกลาง) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔

ชื่อผู้เสนอผลงาน  นางสาวประภาพร  บุญพาเกิด 

 โรงเรียนป่าสักวิทยา  อำเภอท่าบ่อ  จังหวัดหนองคาย

สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑

โทรศัพท์  ๐-๔๒๙๙-๑๕๔๗   โทรศัพท์มือถือ  ๐๘๙-๘๖๑-๑๕๙๓  e-mail  prapa1967@hotmail.com

รายละเอียดการนำเสนอผลงาน

๑.  ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

           โรงเรียนป่าสักวิทยา  ตั้งอยู่เลขที่  ๒๙๙  หมู่  ๙  บ้านป่าสัก  ตำบลกองนาง  อำเภอท่าบ่อ  จังหวัดหนองคาย  โดยมีเขตบริการของโรงเรียน  ๓  หมู่  คือ  หมู่  ๔  หมู่  ๙  และหมู่  ๑๓  ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่ง

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน  ที่มีภาษาเฉพาะท้องถิ่นเป็นของตนเองนั่นคือภาษาถิ่นบ้านป่าสักหรือภาษาถิ่นอีสาน  ทั้งนี้เพราะภาษาในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  โดยมีความแตกต่างกันออกไปในด้านการออกเสียงแต่มีความหมายเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม  ประเพณี ของท้องถิ่นนั้น ๆ 

           ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔  จำนวน

๑๖  คน  พบว่านักเรียนมีปัญหาในการใช้ภาษาถิ่นกับภาษาไทยกลางปะปนกันทั้งในด้านการพูด  การอ่านและการเขียน  ทั้งนี้เพราะนักเรียนใช้ภาษาถิ่นบ้านป่าสักในชีวิตประจำวัน  ภาษาถิ่นบ้านป่าสักจึงมีอิทธิพลในการสื่อสารของนักเรียนทั้งการพูด  การอ่านและการเขียน  โดยใช้ภาษาถิ่นปะปนกับภาษาไทยกลาง  ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาราชการ  ดังนั้นจึงได้จัดทำนวัตกรรม  เรื่อง  ภาษาถิ่นภาษาไทยสู่หลักชัยการอ่าน-

เขียนคล่อง  (คำภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษาไทยกลาง)  ขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน พร้อมนำไปสู่การพูด  การอ่าน  และการเขียนภาษาไทยกลางได้ถูกต้องคล่องแคล่ว  รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภาษาถิ่นไว้เป็นมรดกทางภาษาด้วย

๒.  จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

           ๒.๑  เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและการเขียน 

           ๒.๒  เพื่อให้นักเรียนใช้ภาษาไทยกลางได้ถูกต้องคล่องแคล่วทั้งการอ่านและการเขียน ร้อยละ ๘๐

           ๒.๓  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาถิ่นบ้านป่าสักไว้เป็นมรดกทางภาษาสืบไป

๓.  กระบวนการผลิตผลงาน  หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

           ๓.๑  รวบรวมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  โดยการสอบถาม  สัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้านป่าสัก  ๓  หมู่  คือ 

หมู่  ๔  หมู่  ๙  หมู่  ๑๓  หมู่ละ  ๕  คน  รวม  ๑๕  คน  โดยกำหนดอายุ  ๖๐  ปีขึ้นไป  และต้องเป็นผู้ที่มี

ถิ่นฐานในบ้านป่าสักมาตั้งแต่กำเนิด  เพื่อภาษาถิ่นที่ได้จะได้เป็นภาษาถิ่นบ้านป่าสักที่แท้จริงไม่คลาดเคลื่อน โดยรวบรวมได้จำนวน ๓๔๔  คำ ทั้งนี้ต้องเป็นคำที่ออกเสียงต่างกับภาษาไทยกลางแต่มีความหมายเหมือนกัน

           ๓.๒  นำคำที่รวบรวมได้มาจัดทำเป็นพจนานุกรมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษาไทยกลาง  โดยจัดเรียงเป็นหมวดตามพยัญชนะ  ก – ฮ  ได้จำนวน  ๒๕  หมวด เพื่อให้นักเรียนเห็นชัดเจนว่าคำที่ได้มีความแตกต่างกับภาษาไทยกลางด้านการออกเสียงแต่มีความหมายเหมือนกัน

           ๓.๓  นำคำที่รวบรวมได้บางคำมาวาดภาพประกอบ  เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายชัดเจนขึ้น

ทั้งภาษาถิ่นบ้านป่าสักและภาษาไทยกลาง

           ๓.๔  นำคำที่รวบรวมได้มาจัดทำบัตรคำ/บัตรภาพ  ที่หลากหลายรูปแบบ  เพื่อให้นักเรียน

เกิดความสนใจ  และนำไปฝึกอ่าน  ฝึกเขียนคำให้ถูกต้องคล่องแคล่วทั้งภาษาถิ่นบ้านป่าสักและภาษาไทยกลาง

           ๓.๕  นำผลงานที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  พจนานุกรมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษาไทยกลาง  ภาพประกอบบัตรคำ/บัตรภาพ  สู่กิจกรรมการเรียนการสอน  โดยให้นักเรียนอ่าน  เขียน  แต่งประโยค  โดยจัดทำในรูปแบบหนังสือเล่มเล็ก  ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกซ้ำย้ำทวนให้นักเรียนอ่านเขียนคล่อง  และนำไปสู่การมีนิสัยรักการอ่านการเขียนต่อไป

๔.  ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

           ผลจากการใช้นวัตกรรม  ภาษาถิ่นภาษาไทยสู่หลักชัยการอ่าน- เขียนคล่อง  (คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก

กับภาษาไทยกลาง)  มีดังนี้ 

           ๔.๑  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  การเขียนร้อยละ  ๙๓.๗๕

           ๔.๒  นักเรียนใช้ภาษาไทยกลางได้ถูกต้องคล่องแคล่วทั้งการอ่านและการเขียน  ร้อยละ  ๘๗.๕

           ๔.๓  นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในภาษาถิ่นของตนเองและร่วมอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางภาษาสืบไป

           ๔.๔  ครูผู้สอนเกิดความภาคภูมิในนวัตกรรมใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาการอ่านการเขียนได้

๕.  ปัจจัยความสำเร็จ

           ๕.๑  ผู้บริหาร  คณะครู  และนักเรียนให้การสนับสนุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลคำภาษาถิ่น

บ้านป่าสักที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยกลาง

           ๕.๒  บุคลากรท้องถิ่นหรือผู้รู้ในหมู่บ้านป่าสักให้ความร่วมมือในการสอบถาม  สัมภาษณ์คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  จนสามารถรวบรวมคำได้ 

           ๕.๓  ผู้บริหาร  คณะครู  และนักเรียนเห็นความสำคัญของคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักที่นำไปสู่การอ่าน

การเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องคล่องแคล่ว  จึงได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน  โดยจัดทำเป็นบัตรคำ บัตรภาพ ประจำชั้นเรียน  ส่งผลให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านการเขียนและอ่านเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องคล่องแคล่ว 

๖.  บทเรียนที่ได้รับ

           ๖.๑  ข้อสรุป

                  ๖.๑.๑  ข้อสรุปสำหรับนักเรียน

                            ๑)  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  การเขียน

                           ๒)  นักเรียนใช้ภาษาไทยกลางได้ถูกต้องคล่องแคล่วทั้งการอ่านและการเขียน

                             ๓)  นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในภาษาถิ่นและร่วมอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางภาษาสืบไป

                  ๖.๑.๒  ข้อสรุปสำหรับครู

            ๑)  ภาษาถิ่นภาษาไทยสู่หลักชัยการอ่าน- เขียนคล่อง  (คำภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษา

ไทยกลาง)  เป็นสื่อที่นักเรียนให้ความสนใจ  เกิดความกระตือรือร้นในการอ่าน  การเขียน  ส่งผลให้

มีนิสัยรักการอ่าน  การเขียน  และอ่าน-เขียนได้ถูกต้องคล่องแคล่ว

            ๒)  ครูมีผลงาน/นวัตกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจ  ได้แก่  พจนานุกรมคำภาษาถิ่น

บ้านป่าสักกับภาษาไทยกลาง  ภาพประกอบ  บัตรคำ/บัตรภาพ  ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีหากเกิด

ความสงสัยในความหมายของคำภาษาถิ่นกับภาษาไทย

            ๓)  รวบรวมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักไว้เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์ภาษาถิ่นไว้เป็นมรดก

ทางภาษาได้ตามจุดประสงค์

           ๖.๒  ข้อสังเกต

       ๖.๒.๑  ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาถิ่นบ้านป่าสัก

            ๑)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ใช้คำว่า  “บัก”  นำหน้าชื่อผลไม้  เช่น  บักมี่  บักนัด  บักเหล่น 

บักสีดา  เป็นต้น

                          ๒)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ใช้คำว่า  “อี”  นำหน้าคำเรียกเครือญาติ  เช่น  อีพ่อ   อีแม่ 

อีหล่า  เป็นต้น

                            ๓)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ใช้คำว่า  “พ่อ  แหม่”  นำหน้าคำเรียกเครือญาติ  เช่น  พ่อตู้  แหม่ตู้ 

พ่ออาว  แหม่อา  พ่อปู่  แหม่ย่า  เป็นต้น

            ๔)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ใช้คำว่า  “ขี่”  นำหน้าคำเรียกชื่อสัตว์  เช่น  ขี่เกี้ยม  ขี่โก๋ 

ขี่กะเดือน  เป็นต้น

                            ๕)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ไม่มีคำที่ใช้  “ฉ  ช”  แต่จะใช้  “ซ”  แทน  เช่น  ซัง  ซามอ่าง 

ซิ้นหลอด  เป็นต้น

            ๖)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ไม่มีคำที่ใช้  “ร”  แต่จะใช้  “ล”  แทน  เช่น  ลดถีบ  ลดจัก  เป็นต้น

                            ๗)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ไม่มีคำควบกล้ำ  เช่น  หัวขวน  กะต่า  เกือกกิ้ง  ควย  เป็นต้น

                            ๘)  คำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก  ออกเสียงคำ  ย  เป็น  ญ  หรือ  ย  ที่ออกเสียงนาสิก  เช่น  หย่าง 

แหม่หย่า  เหมิด  เป็นต้น

       ๖.๒.๒  ข้อสังเกตเกี่ยวการนำคำกับภาษาถิ่นบ้านป่าสักกับภาษาไทยกลางไปใช้

            ๑)  นักเรียนให้ความสนใจในการเปรียบเทียบคำภาษาถิ่นกับคำภาษาไทยกลาง  เนื่องจาก

เป็นเรื่องที่สนุกสนาน  แปลกใหม่  เพราะที่ผ่านมาครูจะเน้นในเรื่องภาษาไทยกลาง  หากพูด  อ่าน  และเขียนผิดก็จะให้แก้ไขทันที  แต่เมื่อมีการนำภาษาถิ่นมาใช้กลับทำให้นักเรียนพูด  อ่าน  และเขียนภาษาไทยกลางถูกต้องคล่องแคล่ว

                          ๒)  นักเรียนนำภาษาถิ่นกับภาษาไทยกลางไปประยุกต์ใช้ในการเรียน  โดยพูด  อ่าน  และ

เขียนภาษาไทยกลางได้ถูกต้อง  คล่องแคล่ว  และเมื่อพบเห็นสิ่งของที่เป็นภาษาถิ่นก็สามารถคิดคำภาษา

ไทยกลางได้รวดเร็วส่งผลให้พูด  อ่าน  และเขียนได้ถูกต้องคล่องแคล่ว

           ๖.๓  ข้อเสนอแนะ

                       ๖.๓.๑  ควรมีการรวบรวมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักเพิ่มเติมอีก  เพราะคำภาษาถิ่นบ้านป่าสัก

อาจมีมากกว่าคำที่รวบรวมได้

                      ๖.๓.๒  ควรมีการนำภาษาถิ่นบ้านป่าสักไปจัดทำสื่อ  นวัตกรรมในรูปแบบอื่น  ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการอ่าน  การเขียนมากขึ้น  ซึ่งจะส่งผลไปสู่การอ่าน  การเขียนที่ถูกต้องคล่องแคล่วต่อไป

๗.  การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

           ๗.๑  การเผยแพร่

                   ๗.๑.๑  จัดทำแผ่นพับเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนป่าสักวิทยา  ได้ศึกษาคำภาษาถิ่นกับภาษาไทยกลาง

                   ๗.๑.๒  ขยายผลให้กับครูในโรงเรียน  โดยนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                   ๗.๑.๓  นักเรียนจัดทำหนังสือเล่มเล็ก  เพื่อใช้ในการฝึกเขียนฝึกอ่าน  โดยใช้คำภาษาถิ่นและ

คำภาษาไทยกลางที่รวบรวมได้

                   ๗.๑.๔  ออกรายการเสียงตามสายของโรงเรียน  โดยเสนอเป็นเกร็ดความรู้  ภาษาถิ่นบ้านป่าสัก

กับภาษาไทยกลางวันละคำ  ซึ่งนักเรียนทุกคนให้ความสนใจในเรื่องของภาษาถิ่นรวมทั้งช่วยกันเสนอ

คำแปลกใหม่  ซึ่งจะได้เก็บรวบรวมคำภาษาถิ่นบ้านป่าสักเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป 

           ๗.๒  การได้รับการยอมรับและรางวัลที่ได้รับเกี่ยวกับการอ่านการเขียน

     ๗.๒.๑  ปีการศึกษา  ๒๕๕๑

                          ๗.๒.๑.๑  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๑ 

ระดับกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่  ๑๔  ชนะเลิศ  ดังนี้   

                                ๑)  การเขียนเรื่องจากภาพ  (ช่วงชั้นที่  2)     ๒)  ความเป็นเลิศภาษาไทย (ช่วงชั้นที่  2) 

                                ๓)  การแข่งขันท่องอาขยาน (ช่วงชั้นที่  2)  ๔)  การแข่งขันเล่านิทานคุณธรรม  (ช่วงชั้นที่  2) 

                          ๗.๒.๑.๒  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๑ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๑  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่  2  การแข่งขันเล่านิทานคุณธรรม  ช่วงชั้นที่  2

                          ๗.๒.๑.๓  การประกวดกิจกรรมความเป็นเลิศ  (Best  of  the  Best)  ตามนโยบายห้องเรียนคุณภาพ ประจำปีการศึกษา  ๒๕๕๑  ระดับกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่  ๑๔  ได้รับรางวัลนักเรียนเป็นผู้มีผลงานการเรียนรู้ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการคิดเป็นเลิศ  (Best  of  the  Best)   ตามนโยบายห้องเรียนคุณภาพ  ชั้น ป.๔

                          ๗.๒.๑.๔  การเข้าร่วมโครงการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน   นักเรียนได้รับรางวัลสุดยอดนักอ่านประจำเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๑  ช่วงชั้นที่  ๑  และช่วงชั้นที่  ๒

     ๗.๒.๒  ปีการศึกษา  ๒๕๕๒

                          ๗.๒.๒.๑  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๒

ระดับกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่  ๑๔  ชนะเลิศ  ดังนี้

                                ๑)  การแข่งขันท่องอาขยาน  ป.๔-๖            ๒)  การแข่งขันนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์  ป.๑-๓

                                ๓)  การแข่งขันนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ ป.๔-๖  ๔)  การแข่งขันการเล่านิทานคุณธรรม  ป.๑-๓

                                ๕)  การเล่านิทานคุณธรรม  ป.๔-๖             ๖)  การแข่งขันคัดลายมือ ป.๔-๖  การศึกษาพิเศษ 

                          ๗.๒.๒.๒  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๒

ระดับเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๑  ได้รางวัลระดับเหรียญทอง  ดังนี้

                                ๑)  การแข่งขันท่องอาขยาน  ป.๔-๖          ๒)  การแข่งขันนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์  ป.๑-๓

                                ๓)  การแข่งขันนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ ป.๔-๖  ๔)  การแข่งขันการเล่านิทานคุณธรรม ป.๑-๓

                          ๗.๒.๒.๓  การประกวดเรียงความระดับประถมศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

หนองคาย เขต ๑

                                ๑)  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ  ๑  การประกวดเรียงความระดับประถมศึกษา 

ช่วงชั้นที่  ๒  เรื่อง  “เรารักพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี”  (๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๒)

                                ๒)  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ  ๒  การประกวดเรียงความระดับประถมศึกษา 

ช่วงชั้นที่  ๑  เรื่อง  “เรารักพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี”  (๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๒)

     ๗.๒.๓  ปีการศึกษา  ๒๕๕๓

                          ๗.๒.๓.๑  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๓

ระดับกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่  ๑๔   ชนะเลิศ  ดังนี้

๑)  คัดลายมือและอ่านออกเสียง ป.๔-๖       ๒)  หนังสือเล่มเล็ก  ป.๔-๖ 

๓)  การแข่งขันท่องอาขยาน  ป.๔-๖            ๔)  เขียนเรียงความ  ป.๑-๓     

๕)  เขียนเรียงความ  ป.๔-๖                          ๖)  เล่านิทานคุณธรรม  ป.๑-๓

๗)  เล่านิทานคุณธรรม  ป.๔-๖                    ๘)  ประกวดเล่านิทานการศึกษาพิเศษ  ป.๑-๓

๙)  ประกวดเล่านิทานการศึกษาพิเศษ  ป.๔-๖    ๑๐)  อ่านออกเสียง  ป.๔-๖

                          ๗.๒.๓.๒  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๓

ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑  ได้รับรางวัล  ระดับเหรียญทอง  อันดับ  ๑  ดังนี้

๑)  คัดลายมือและอ่านออกเสียง  ป.๔-๖   ๒)  ประกวดเล่านิทานการศึกษาพิเศษ  ป.๔-๖   

๓)  อ่านออกเสียงการศึกษาพิเศษ  ป.๔-๖    

รางวัล  ระดับเหรียญทอง  ดังนี้

๑)  หนังสือเล่มเล็ก  ป.๔-๖                        ๒)  ท่องอาขยาน  ป.๔-๖    

๓)  เล่านิทานคุณธรรม ป.๔-๖

                          ๗.๒.๓.๓  การประกวดกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ประจำปี  ๒๕๕๓

ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ณ  จังหวัดอุดรธานี  รางวัลที่ได้รับมีดังนี้

๑)  คัดลายมือและอ่านออกเสียง  (เดี่ยว)  ระดับชั้น ป.๔-๖  เหรียญทอง  อันดับ  ๔

๒)  ประกวดเล่านิทาน  (เดี่ยว)  การศึกษาพิเศษ  ระดับชั้น ป.๔-๖  เหรียญทองแดง

๓)  อ่านออกเสียง (เดี่ยว) การศึกษาพิเศษ ระดับชั้น ป.๔-๖  เหรียญทองแดง

 

ผู้เขียน : ประภาพร บุญพาเกิด

หน่วยงาน : โรงเรียนป่าสักวิทยา

ศุกร์ ที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ.2554