การพัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน

วันที่โพสต์: Jul 04, 2016 1:19:33 PM

รายงานการสังเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ พัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน

นางสมหมาย เกษร

ศึกษานิเทศก์

ความเป็นมา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

๑. ความเป็นมาและความสำคัญ

ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืนในการที่เห็นควรจะต้องเร่งส่งเสริมคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทยให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้เรียนรู้เข้าใจถึงความเป็นชาติไทยที่แท้จริง ในปัจจุปันความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสารก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศมิใช่น้อย ประชากรไทยทั้งมวลได้รับวัฒนธรรมต่างชาติไม่ทางตรงก็ทางอ้อมและได้ซึมซับเข้าไปในวิถีชีวิตของตัวเด็กอย่างน่าเป็นห่วง อีกทั้งมีการแข่งขันเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขอดงชีวิตก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคน ในสังคม ความหย่อนในระเบียบวินัย ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความร่วมมือในการทำงานส่งผลให้การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามให้แก่นักเรียนจึงต้องช่วยกันทุกคน ทุกฝ่ายและอาจต้องใช้เวลานาน การใช้เทคนิค วิธีการ กิจกรรม สื่อ นวัตกรรมมากมายหลายรูปแบบ สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชน สถานบันทางศาสนา บวร ต่างฝ่ายก็เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ให้นักเรียนมีความรักชาติ มีความซื่อสัตย์ สุจริตมีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ การพัฒนาคุณธรรมให้กับนักเรียนคามแนวทางคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการคือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย มีน้ำใจ สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทย เพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 255๔ ในกิจกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา โดยดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลักดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ศูนย์การเรียนรู้ พุทธศาสนาสร้างจิตอาสาชุมชน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมโครงงานคุณธรรมสำนึกดี CSR บนฐานความคิดคุณธรรมและโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง

กิจกรรมที่ 3 จัดค่ายพระ โต๊ะครู ครู ผู้ปกครอง การประสานงานทั้ง 3 ฝ่าย (บวร) บ้านวัด โรงเรียน

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมคุณธรรม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนทุกโรงในสังกัด

2. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาจิตใจ รู้บาป บุญ คุณโทษมีความคิดประพฤติถูกต้องตามทำนอง คลองธรรม

3. เพื่อให้นักเรียนนักเรียนในโรงเรียนทุกโรงในสังกัดมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบช่วยแก้ปัญหาสังคม และมีความภาคภูมิใจ

4. บ้าน วัด/ศาสนสถานและโรงเรียนพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือและสร้างภูมิคุ้มกันแก่นักเรียน

3.เป้าหมาย

๓.1 เชิงปริมาณ

๓.1.1 ผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ 1๖ โรง

๓.1.2 ผู้บริหาร ครู นักเรียน ในโรงเรียนเครือข่ายของโรงเรียนศูนย์แม่ข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ 1๔๒ โรง

๓.2 เชิงคุณภาพ

๓.2.1 ผู้บริหารครู นักเรียนในโรงเรียนศูนย์แม่ข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ๑๖ โรง สามารถเป็นแบบอย่างในด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมแก่สังคมได้และเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพในการปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม อย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร ครู ชุมชนเป็นโรงเรียนที่ใช้หลักธรรมมาภิบาล มีโครงงานคุณธรรมสำนึกดี โครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง อย่างน้อยโรงเรียนละ ๒ โครงงาน

๓.2.2 ผู้บริหาร ครู นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ๑๔๒ โรง เป็นผู้ปฏิบัติตนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมเพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพจัดทำโครงงานคุณธรรมสำนึกดีโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง อย่างน้อยโรงเรียนละ ๒ โครงงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑. ขั้นตอนการดำเนินงานระดับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต ๑

๑. จัดทำร่างโครงการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา

๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

๓. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาการใช้งบประมาณและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรมฯ และการจัดโรงเรียนศูนย์เครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ

๔. ปรับปรุงโครงการฯ นำเสนออนุมัติโครงการ

๕. จัดประชุมสัมมนา จำนวน ๓ ครั้ง

๕.๑ ประชุมผู้บริหารโรงเรียนศูนย์แม่ข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ จำนวน ๑๖ โรงเรียน เพื่อชี้แจงแนวทางในการดำเนินงาน

๕.๒ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (AAR) เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานให้ทุกโรงเรียนศูนย์แม่ข่ายโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงผลสำเร็จและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

๕.๓ ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ในรูปแบบทำ AAR

๖. ร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ให้คำแนะนำตามศูนย์เครือข่ายต่างๆ

๗. ดำเนินงานตามกิจกรรมการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา

๗.๑ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๗.๒ ปรับวิสัยทัศน์การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสา

๗.๓ จัดอบรมเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณครูผู้ปลูกฝังคุณธรรม

๗.๔ จัดประกวดโครงงานคุณธรรมระดับเขตพื้นที่การศึกษา

๗.๕ จัดตลาดนัดความดี วิถีพุทธ วิถีไทย

๗.๖ จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณครูผู้ปลูกฝังคุณธรรม

๘. ให้การสนับสนุนชี้แนะ ให้กำลังใจ การมอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยผลงานดีเด่น ในงานตลาดนัดความดีวิถีพุทธ วิถีไทย

๙. นิเทศ ติดตาม สังเคราะห์สรุปผลการดำเนินงาน

๒. รายละเอียดโครงการ

งาน/โครงการ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑

ผู้รับผิดชอบ ๑. นางสมหมาย เกษร

๒. นายสังข์ ใจขาน

๓. นางจิตราพร ราชบัณฑิต

๔. นายวิวัฒน์ ผาวันดี

ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตุลาคม ๒๕๕๓ - กันยายน ๒๕๕๔

๑. หลักการและเหตุผล

ด้วยภาวะปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสารก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย ประชากรไทยทั้งมวลได้รับวัฒนธรรมต่างชาติไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และวัฒนธรรมเหล่านั้นได้ซึมซับเข้าไปในวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือการใช้ภาษา เด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากไม่สนใจวัฒนธรรมไทยการใช้วิถีชีวิตอย่างไทย การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีนโยบายการขับเคลื่อนงานตามกลยุทธ์ที่ ๒ มีเป้าหมายความสำเร็จเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม มีจิตสำนึกความเป็นไทย มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และให้ทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต ๑ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา เพื่อรองรับและสนองนโยบายดังกล่าวให้เป็นไปตามเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

๒. วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม สร้างจิตอาสาชุมชน ภูมิใจในความเป็นไทย

๒.๒ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ๓ ประสาน บ้าน วัด โรงเรียนในการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธ

๒.๓ เพื่อส่งเสริมเยาวชนจัดทำโครงงานคุณธรรมสำนึกดี CSR และโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดี ถวายในหลวง

๒.๔ เพื่อพัฒนาองค์กร เครือข่าย ชมรมให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่เยาวชน

๒.๕ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและให้ขวัญกำลังใจผู้ทำความดีอย่างสม่ำเสมอ จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำความดี

๓. เป้าหมาย

๓.๑ เชิงปริมาณ

๑) คัดเลือก ๑๖ โรงเรียน ๓๒ โครงงานยอดเยี่ยม โครงงานดีเด่นระดับประถมและมัธยมฯ

ระดับละ ๕ รางวัล

๒) พัฒนาครูผู้รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมโรงเรียนละ ๑ คน รวม ๑๖๐ คน

๓) จัดตลาดนัดความดี วิถีพุทธ วิถีไทย ๑ วัน จัดแสดงสินค้าคุณธรรม กิจกรรมทำความดีจำนวน ๓๒ โรงเรียน สัมมนาทางวิชาการ ผู้เข้าชมและร่วมกิจกรรมทุกโรงเรียน

๔) ปรับวิสัยทัศน์โรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสา จำนวน ๑๗ โรงเรียน

๓.๒ เชิงคุณภาพ

๑) นักเรียนมีพัฒนาการด้านคุณภาพจิต รู้บาป บุญ คุณ โทษ มีจิตอาสาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

๒) นักเรียนดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยฐานคิดเชิงคุณธรรมและร่วมกันทำความดีอย่างมีปัญญา

๓) โรงเรียนมีบุคลากรจากวัด ชุมชน มีกิจกรรมและกระบวนการเชิงบวกที่เข้มแข็งในการดูแลนักเรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม รับผิดชอบหน้าที่ตนเอง ห่างไกลยาเสพติด

๔) คนดีได้รับการเอาใจใส่ พูดถึง ยกย่อง ให้ขวัญกำลังใจ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่าง ต่อเนื่อง

๔. กิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการ

กิจกรรม

๑. วางแผน กำหนดแนวทาง

๒. ประชุมปรึกษา ชี้แจง ร่วมวางแผนการดำเนินงาน

๓. ดำเนินงานตามกิจกรรม/ เป้าหมายที่กำหนด

- โครงงานคุณธรรม

- กิจกรรมสร้างจิตอาสา พัฒนาชุมชน

- สร้างความร่วมมือ บ้าน วัด โรงเรียน

- ปรับวิสัยทัศน์ ร.ร.วิถีพุทธเน้นจิตอาสา

- ตลาดนัดความดี วิถีพุทธ วิถีไทย

๔. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (AAR ๓ ครั้ง)

๕. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล

๖. สรุปรายงานผล

ระยะเวลาดำเนินการ

มกราคม ๒๕๕๔

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

มีนาคม – กันยายน ๒๕๕๔

มีนาคม – กันยายน ๒๕๕๔

มีนาคม – กันยายน ๒๕๕๔ มีนาคม ๒๕๕๔

กันยายน ๒๕๕๔

พ.ค., ก.ค., ก.ย. ๕๔

มีนาคม – ตุลาคม ๒๕๕๔

ตุลาคม ๒๕๕๔

๕. งบประมาณ

งบประมาณดำเนินการ ได้รับจัดสรรจาก สพฐ. กลยุทธ์ที่ ๒ แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา กิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โครงการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา จำนวน ๙๔๑,๘๕๐. (เก้าแสนสี่หมื่นหนึ่งพันแปดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ถัวจ่ายทุกรายการ ตามรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณดังต่อไปนี้

รายการใช้จ่าย

งบประมาณทั้งสิ้น

๒๔,๑๕๐.

๔๘,๙๒๐

แยกตามประเภทการใช้จ่าย

๑. การบริหารภายในสำนักงาน

๑. ประชุมชี้แจงแนวดำเนินงานและการใช้งบประมาณ

- อาหารเที่ยง /เครื่องดื่ม /อาหารว่าง ๑๖ คนๆ ละ ๘๐ บาท

๒. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำ AAR ๓ ครั้ง

- อาหารเที่ยง /เครื่องดื่ม /อาหารว่าง ๑๖ โรง คนละ ๘๐ บาท ๓ ครั้ง

๓. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

- อาหารเที่ยง /เครื่องดื่ม /อาหารว่าง ๑๖ โรง คนละ ๘๐ บาท

๔. จัดทำวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ ๓,๖๐๐ บาท

๕. วัสดุ/เอกสาร

๖. นิเทศ ติดตาม

๒. โครงงานคุณธรรม

๒.๑ คัดเลือกโครงงานดีเด่น

- อาหารเที่ยง /เครื่องดื่ม /อาหารว่าง ๑๖ คน ๆ ละ ๘๐ บาท

- ค่าพาหนะคณะกรรมการ ๑๖ คนถัวจ่ายคนละ ๑๕๐ บาท

- ทุนสนับสนุนการดำเนินการต่อเนื่อง

ค่าใช้สอย

๑,๒๘๐

๓,๘๔๐

๑,๒๘๐

๓,๖๐๐

๘,๕๗๖

๑,๒๘๐

๒,๔๐๐

๑๑,๐๐๐

ค่าตอบ แทน

วัสดุ

๕,๕๗๔

รายการใช้จ่าย

งบประมาณทั้งสิ้น

๗๓๔,๗๐๐.

แยกตามประเภทการใช้จ่าย

๕. จัดสรรให้โรงเรียนแม่ข่ายแกนนำดำเนินงานปลูกฝังคุณธรรม จำนวน ๑๖ โรงเรียน (เฉลี่ย โรงละ ๔,๖๕๐ บาท)

ค่าใช้สอย

ค่าตอบ แทน

๔,๘๐๐

วัสดุ

๖๐,๘๓๔

รวม

รวมทั้งสิ้น

๗๓๔,๗๐๐.

๑๔๑,๕๑๖

๙๔๑,๘๕๐.

๖. การติดตามและประเมินผล

โรงเรียนจัดทำรายงานผลแบบ ๑ หน้ากระดาษ เป็นรายกิจกรรมและรายไตรมาส โดยรายงานประจำเดือนภายในวันที่ มีนาคม / พฤษภาคม / กรกฎาคม / กันยายน

ตัวชี้วัดผลสำเร็จ

๑. ครู บุคลากรมีจิตอาสาชุมชน ภูมิใจในความเป็นไทย

๒.เยาวชนจัดทำโครงงานคุณธรรมสำนึกดี CSR และโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดี ถวายในหลวง

๔.องค์กรเครือข่ายชมรมมีส่วนร่วมใน การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่เยาวชน

๕.คนดีได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและให้ขวัญกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

เครื่องมือวัด/ประเมินผล

แบบสอบถาม

รายงานโครงงาน

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม

วิธีการวัด/ประเมินผล

สอบถาม

ประเมินสรุป

สอบถาม

สอบถาม

๗. ผลที่คาดหวัง

๑. นักเรียนได้รับการพัฒนาจิตใจ รู้บาป บุญ คุณ โทษ มีความคิด ความประพฤติถูกต้องตามทำนอง คลองธรรม

๒. นักเรียนมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบช่วยแก้ปัญหาสังคม และมีความภาคภูมิใจในตนเอง

๓. บ้าน วัด/ศาสนสถาน และโรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสร้างภูมิคุ้มกันแก่นักเรียน

๔. องค์กร เครือข่าย ชมรม มีความเข้มแข็ง ดำเนินงานเพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง

๕. คนดี มีกำลังใจไม่ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวในการทำความดี

ปฏิทินดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา

ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑

ผู้เขียน : สมหมาย เกษร

หน่วยงาน : กลุ่มนิเทศฯ สพป.นค.๑

พุธ ที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ.2554

เข้าชม : 320